รายงานข้อมูลสาธารณะ


เมืองอัจฉริยะ

  เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากรของเมือง และประชากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี  และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ และภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน


 

ข้อมูลการเข้าถึงสถานศึกษาและสถานบริการสาธารณสุขของรัฐในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ในเด็กปฐมวัย

แดชบอร์ดแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ของกลุ่มเด็กอายุ 0-6 ปี ที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ DSPM ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ (ระบบ HDC ปี 2565) และการเข้าถึงการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร (ระบบ Exchange ปี 2566) ภายใต้การเก็บข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผลการคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแบ่งตามกลุ่มได้เป็น สมวัย, ไม่สมวัย และ ผลการคัดกรองไม่แน่ชัดหรือไม่มีข้อมูลการคัดกรอง ข้อมูลที่นำเสนอบนแดชบอร์ดนี้แสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของเด็กปฐมวัยตามสถานศึกษาและสถานพยาบาลที่เด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการในแต่ละอำเภอของจังหวัดพิจิตร ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานพยาบาลที่ให้บริการการคัดกรองพัฒนาการแก่เด็กปฐมวัยจากแต่ละสถานศึกษาหรือจากต่างอำเภอ และผลการคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในแต่ละพื้นที่ในจังหวัดพิจิตร รวมถึงแสดงความแตกต่างของจำนวนข้อมูลระหว่างสองระบบ ที่อาจตกหล่นหรือสูญหายในกระบวนการเก็บข้อมูล เป็นต้น

ข้อมูลการเข้าถึงสถานศึกษาและสถานบริการสาธารณสุขของรัฐในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ในเด็กปฐมวัย

แดชบอร์ดแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ของกลุ่มเด็กอายุ 0-6 ปี ที่ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ DSPM ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ (ระบบ HDC ปี 2565) และการเข้าถึงการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร (ระบบ Exchange ปี 2566) ภายใต้การเก็บข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข โดยมีผลการคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแบ่งตามกลุ่มได้เป็น สมวัย, ไม่สมวัย และ ผลการคัดกรองไม่แน่ชัดหรือไม่มีข้อมูลการคัดกรอง ข้อมูลที่นำเสนอบนแดชบอร์ดนี้แสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของเด็กปฐมวัยตามสถานศึกษาและสถานพยาบาลที่เด็กได้รับการคัดกรองพัฒนาการในแต่ละอำเภอของจังหวัดพิจิตร ซึ่งสามารถตรวจสอบสถานพยาบาลที่ให้บริการการคัดกรองพัฒนาการแก่เด็กปฐมวัยจากแต่ละสถานศึกษาหรือจากต่างอำเภอ และผลการคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในแต่ละพื้นที่ในจังหวัดพิจิตร รวมถึงแสดงความแตกต่างของจำนวนข้อมูลระหว่างสองระบบ ที่อาจตกหล่นหรือสูญหายในกระบวนการเก็บข้อมูล เป็นต้น

แดชบอร์ดแสดงสถานการณ์สภาวะ IQ EQ SDQ ในเด็กนักเรียน

ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กนักเรียนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ.2564 ในรูปแบบแดชบอร์ด ภายใต้การเก็บข้อมูลโดยสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอภาพรวมข้อมูลผลสำรวจภายใต้โครงการ พร้อมรายละเอียดภาวะที่อาจส่งผลต่อระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็ก เช่น การเตรียมพร้อมของมารดาขณะตั้งครรภ์ ระดับการศึกษาของบิดา/มารดา การได้รับทุนการศึกษา เป็นต้น

แดชบอร์ดแสดงสถานการณ์สภาวะ IQ EQ SDQ ในเด็กนักเรียน

ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กนักเรียนในพื้นที่จังหวัดพิจิตร และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ.2564 ในรูปแบบแดชบอร์ด ภายใต้การเก็บข้อมูลโดยสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอภาพรวมข้อมูลผลสำรวจภายใต้โครงการ พร้อมรายละเอียดภาวะที่อาจส่งผลต่อระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็ก เช่น การเตรียมพร้อมของมารดาขณะตั้งครรภ์ ระดับการศึกษาของบิดา/มารดา การได้รับทุนการศึกษา เป็นต้น

ผลการคัดกรองพัฒนาการในเด็ก

แสดงภาพรวมสถานการณ์พัฒนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย (อายุ 0-6 ปี) ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC) ภายใต้การอนุเคราะห์ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร แดชบอร์ดหน้าที่ 1 แสดงผลการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual: DSPM) ที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งแบ่งการคัดกรองออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2) กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 3) ความเข้าใจภาษา 4) การใช้ภาษา และ 5) การช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม นำเสนอในรูปแบบสถิติการเข้ารับบริการของกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละสถานพยาบาล สำหรับให้เจ้าหน้าที่ในจังหวัดตรวจสอบความปริมาณการเข้ารับบริการในแต่ละสถานพยาบาล แจกแจงข้อมูลพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคลโดยไม่ระบุชื่อหรืออัตลักษณ์บ่งชี้ตัวตน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ยังสามารถตรวจสอบรายละเอียดสถานการณ์การเข้ารับบริการสาธารณสุขของกลุ่มเด็กปฐมวัยได้ในแต่ละสถานพยาบาลโดยที่ยังคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล แดชบอร์ดดังกล่าวแสดงข้อมูลความอ่อนไหวของเด็กปฐมวัยในสามด้านเพิ่มเติม ได้แก่ 1) การรับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 2) การเกิดในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี และ 3) การพบภาวะขาดออกซิเจนขณะเกิด ซึ่งช่วยให้สามารถกรองเฉพาะเด็กที่มีปัญหาในแต่ละด้านตามที่อ่านสนใจสำหรับใช้พิจารณาสำรวจสถานการณ์ในรายละเอียด แดชบอร์ดหน้าที่ 2 แสดงข้อมูลพัฒนาการด้านกายภาพของเด็ก (น้ำหนัก-ส่วนสูง) จากข้อมูลของเด็กในสถานศึกษา ตามที่เชื่อมโยงเข้ามาแล้วในระบบคลังข้อมูลสุขภาพ HDC จากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งระบุความสมส่วนตามเกณฑ์น้ำหนัก-ส่วนสูงของเด็กในแต่ละบุคคล เทียบกับพัฒนาการของเด็กตามคู่มือ DSPM เพื่อแจกแจงบ่งชี้จำนวนเด็กที่มีความเสี่ยงพัฒนาการในสองด้าน

ผลการคัดกรองพัฒนาการในเด็ก

แสดงภาพรวมสถานการณ์พัฒนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย (อายุ 0-6 ปี) ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC) ภายใต้การอนุเคราะห์ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร แดชบอร์ดหน้าที่ 1 แสดงผลการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual: DSPM) ที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งแบ่งการคัดกรองออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2) กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 3) ความเข้าใจภาษา 4) การใช้ภาษา และ 5) การช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม นำเสนอในรูปแบบสถิติการเข้ารับบริการของกลุ่มเด็กปฐมวัยในแต่ละสถานพยาบาล สำหรับให้เจ้าหน้าที่ในจังหวัดตรวจสอบความปริมาณการเข้ารับบริการในแต่ละสถานพยาบาล แจกแจงข้อมูลพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กเป็นรายบุคคลโดยไม่ระบุชื่อหรืออัตลักษณ์บ่งชี้ตัวตน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ยังสามารถตรวจสอบรายละเอียดสถานการณ์การเข้ารับบริการสาธารณสุขของกลุ่มเด็กปฐมวัยได้ในแต่ละสถานพยาบาลโดยที่ยังคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล แดชบอร์ดดังกล่าวแสดงข้อมูลความอ่อนไหวของเด็กปฐมวัยในสามด้านเพิ่มเติม ได้แก่ 1) การรับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน 2) การเกิดในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี และ 3) การพบภาวะขาดออกซิเจนขณะเกิด ซึ่งช่วยให้สามารถกรองเฉพาะเด็กที่มีปัญหาในแต่ละด้านตามที่อ่านสนใจสำหรับใช้พิจารณาสำรวจสถานการณ์ในรายละเอียด แดชบอร์ดหน้าที่ 2 แสดงข้อมูลพัฒนาการด้านกายภาพของเด็ก (น้ำหนัก-ส่วนสูง) จากข้อมูลของเด็กในสถานศึกษา ตามที่เชื่อมโยงเข้ามาแล้วในระบบคลังข้อมูลสุขภาพ HDC จากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งระบุความสมส่วนตามเกณฑ์น้ำหนัก-ส่วนสูงของเด็กในแต่ละบุคคล เทียบกับพัฒนาการของเด็กตามคู่มือ DSPM เพื่อแจกแจงบ่งชี้จำนวนเด็กที่มีความเสี่ยงพัฒนาการในสองด้าน

Loading