Songkhla City Municipality


“เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การศึกษาทันสมัย

ชาวนครสงขลาอุ่นใจ เมืองปลอดภัยและยั่งยืน”


สงขลา

สมัยโบราณ

สงขลา เป็นชุมชนประมงบนคาบสมุทรสทิงพระ ต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกใช้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า
ชุมชนจึงขยายตัวเป็นเมืองท่าสำคัญที่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ว่า “Singora” (ซิงกอรา)
โดยชื่อนี้สามารถสันนิษฐานได้หลายแบบ โดยข้อสันนิษฐานที่เด่นชัดที่สุด
คือ เมืองสงขลาในสมัยก่อนมีชื่อว่า “สิงขร” เมื่อพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาจึงได้มีการเรียกตามสำเนียงฝรั่ง
และเพี้ยนมาเป็นสงขลาในปัจจุบัน “singora”
เจ้าเมืองสงขลายุคแรกเป็นชาวมุสลิม

สมัยกรุงศรีอยุธยา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งกองทัพมาปราบทำลายเมืองอย่างราบคาบ
จึงมีการย้ายไปอยู่ที่แหลมสน (ปัจจุบันอยู่บ้านบ่อเตย อำเภอสิงหนคร)
เจ้าเมืองเป็นชาวพื้นเมืองบ้าง ชาวจีนบ้าง ตามยุคตามสมัย
สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองสงขลามีฐานะเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม
ซึ่งทรงให้สร้างเมืองใหญ่ที่ฝั่งตำบลบ่อยาง ใช้เวลาสร้างเมืองถึง 10 ปี และรัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จมาพำนักถึง 2 ครั้ง พ.ศ. 2439 สงขลาเป็นที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช และพ.ศ. 2463 สถาปนาเป็นสุขาภิบาลเมืองสงขลา
พ.ศ. 2478 ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสงขลา และ พ.ศ. 2542 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสงขลาเป็นเทศบาลนครสงขลา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 110 ก. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2542)

สงขลาจึงเป็นเมืองประวัติศาสตร์และศูนย์รวมของวัฒนธรรมทั้งไทย-จีน-มุสลิม และฝรั่ง
ทั้งยังเป็นจุดยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

CITY VISION

“เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การศึกษาทันสมัย ชาวนครสงขลาอุ่นใจ เมืองปลอดภัยและยั่งยืน”

CITY GOALS

นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาเมืองในทุกมิติเพื่อให้เป็นเมืองน่าอยู่ ทันสมัย และให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน โปร่งใส ตรวจสอบได้ รับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านแพลตฟอร์ม Line Official Account

CITY CONTEXT & NEEDS

เทศบาลนครสงขลา เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การค้า และการท่องเที่ยว อีกทั้งยังเป็นเมืองประวัติศาสตร์
ศูนย์รวมของวัฒนธรรมทั้งไทย จีน และมุสลิม มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ลักษณะเป็นแหลมแคบ
ยาวตามแนวทิศใต้สู่ทิศเหนือ และพื้นที่เมืองเก่า จึงเป็นเมืองท่าและเมืองชายทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้
มาตั้งแต่โบราณ มีเมืองเก่า โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี
ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษตกทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา และยังคงรักษาความเก่าแก่
ของโบราณสถาน อันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองไว้อย่างเหนียวแน่น ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศเดินทางมาเยี่ยมชม ตลอดจนถึงแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่าง ๆ
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สวยงาม มีสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศที่รองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
อย่างแท้จริง ซึ่งเทศบาลนครสงขลาเคยได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย
เช่น ถ้วยพระราชทาน รางวัลชนะเลิศเทศบาลด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืนยอดเยี่ยม ระดับประเทศ ประจำปี 2563
จัดโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นการตอบโจทย์นโยบายหลักในการบริหารราชการของนายกเทศมนตรีนครสงขลาและคณะผู้บริหาร
ในการยกระดับเทศบาลนครสงขลาให้ก้าวไปสู่องค์กรคุณภาพ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเมืองสู่การเป็นนครสงขลาเมืองอัจฉริยะ (Nakhon Songkhla Smart City) โดยยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนานครสงขลาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง เป็นเมืองน่าลงทุน
ที่เชื่อมโยงกับกิจกรรมกีฬา และการท่องเที่ยว
ตามวิสัยทัศน์ “เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การศึกษาทันสมัย ชาวนครสงขลาอุ่นใจ เมืองปลอดภัยและยั่งยืน”

SMART CITY TYPE

VIDEO

คลิปวิดีโอแนะนำเทศบาลนครสงขลา

EXECUTIVE SUMMARY

https://drive.google.com/file/d/1JWjlbqtzujv3Y_no_Epcq3ng89NsSV_h/view?usp=sharing

Loading

HELLLLLLo