ข้อหมูเกี่ยวกับ “เกาะรัตนโกสินทร์”
กรุงเทพมหานครมุ่งพัฒนาพื้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ สู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ เพื่อการสร้างกรอบและต้นแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งขอบเขตของพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ หมายถึง พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในบริเวณที่มีน้ําล้อมรอบ ทางด้านตะวันออกจดคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง และบางลําพู ตั้งแต่เชิงสะพานพระปกเกล้าขึ้นไปทางทิศเหนือไปบรรจบกับแม่น้ําเจ้าพระยาที่บริเวณป้อมพระสุเมรุและทิศตะวันตกจดแม่น้ําเจ้าพระยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้อนุมัติให้สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ดําเนินการจัดทําข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์เพื่อผลักดันเป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากพื้นที่ย่านนวัตกรรมคาดว่าจะลงนามในบันทึกความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงในเดือนกรกฎาคม 2563
วิสัยทัศน์เมือง
รัตนโกสินทร์ ย่านวัฒนธรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์อัจฉริยะ
เป้าหมายเมือง
ส่งเสริมกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองศูนย์กลาง การติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการศึกษา การบริการด้านการแพทย์และสุขภาพระดับนานาชาติที่พร้อมด้วยสิ่งอานวยความสะดวก เทคโนโลยีในการสื่อสารและระบบคมนาคมมาตรฐานสูง โดยจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดิน จัดเตรียมระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ บริการทางสังคมและที่อยู่อาศัย ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชากรเมืองที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งแก้ไขปัญหาจราจร ขยะ น้ําเสีย น้ําท่วม และมลภาวะทางอากาศตลอดจนการจัดทัศนียภาพของเมืองให้สวยงาม มีพื้นที่สีเขียว และสวนสาธารณะ
บริบทเมืองและความต้องการของเมือง
การพัฒนาและขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ร่วมกับการขับเคลื่อนของภาครัฐและเอกชน เช่น สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กําหนด “ย่านนวัตกรรม” คือการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมภายในเมืองหรือย่านให้ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมและ ธุรกิจใหม่มีการรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ โดยการพัฒนาเครื่องมือและกลไกที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยและ ผู้ดําเนินกิจกรรมภายในย่านให้มีการใช้นวัตกรรม การทํากิจกรรม แบ่งปันทรัพยากร และร่วมกันกําหนดเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้กําหนดพื้นที่นําร่องโครงการย่านนวัตกรรม 8 ย่าน ได้แก่
1. ย่านนวัตกรรมโยธี
2. ย่านนวัตกรรมรัตนโกสินทร์
3. ย่านนวัตกรรมคลองสาน
4. ย่านนวัตกรรมบางซื่อ
5. ย่านนวัตกรรมปทุมวัน
6. ย่านนวัตกรรมลาดกระบัง
7. ย่านนวัตกรรมกล้วยน้ําไท
8. ย่านนวัตกรรมปุณญวิถี
ประเภทเมืองอัจฉริยะ
คลิปแนะนำ
บทสรุปผู้บริหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร

ไชน่าทาวน์เมืองไทย แหล่งรวมของอร่อย

กรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศ

สถานที่ในประวัติศาสตร์ไทย

เมืองอัจฉริยะที่มีศักยภาพสำคัญของประเทศ