พิจิตร

ถิ่นกำเนิดตำนานชาละวัน

ข้อมูลเกี่ยวกับ “พิจิตร”

พิจิตร แปลว่า งาม เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตรจึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือ “พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8” พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์

จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดเก่าแก่มากจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เชื่อกันว่าเจ้ากาญจนกุมาร (พระยาโคตระบอง) โอรสพระยาโคตมเทวราช เป็นผู้สร้างเมือง เหนือฝั่งแม่น้ำน่านในปี พ.ศ. 1601 เดิมมีหลายชื่อ คือ เมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวรและเมืองปากยม ดินแดนอันเป็นเขตจังหวัดพิจิตรอยู่ในที่ราบลุ่มตอนใต้ของภาคเหนือในดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ลำน้ำยมและลำน้ำน่านไหลผ่าน ลักษณะพิเศษของดินแดนจังหวัดพิจิตรเดิมเต็มไปด้วยห้วย หนอง คลอง บึง พื้นดินจังหวัดพิจิตร เป็นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร เพราะเป็นดินตะกอนที่เกิดจากน้ำท่วมทับถมทุกปีมีปลาชุกชุม

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี มีความสำคัญทางทหารและการปกครองมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง “ไกรทอง” โดยใช้เมืองพิจิตรเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่องราว เนื่องจากเมืองพิจิตร เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมากมายและมีจระเข้ชุกชุมนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2435 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำรูปแบบการปกครองระบบ เทศภิบาลมาใช้และได้จัดตั้งมณฑลพิษณุโลก เป็นมณฑลแรกประกอบด้วย 5 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิจิตร

วิสัยทัศน์เมือง

เมืองเกษตรดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมและคุณภาพชีวิตดี ยกระดับการท่องเที่ยวสู่สากล

เป้าหมายเมือง

1. เสริมสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตอย่างมั่นคงจากฐานของชุมชน การพึ่งตนเองในจังหวัดและการเชื่อมโยงกับระดับภาค และการพัฒนาประเทศ

2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ มาตรฐานในระดับการส่งออกและการรองรับความมั่นคงทางอาหาร เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรภาคการเกษตร และเกษตรกรให้มีศักยภาพการแข่งขันและพึ่งตนเองได้

3. บริหารจัดการน้ำ ดิน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลกับการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาจังหวัดการรักษาระบบนิเวศ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนรองรับ การพัฒนาเป็นเมืองเกษตรคุณภาพ

4. เสริมสร้างสังคมคุณภาพ สังคมแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความสันติสุข ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ประเภทเมืองอัจฉริยะ

เมืองเดิมน่าอยู่

ลักษณะการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

คลิปแนะนำ

บทสรุปผู้บริหาร

ดาวน์โหลดเอกสาร

บึงสีไฟ
แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย 
วัดท่าหลวง
ที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร และเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน
วัดโพธิ์ประทับช้าง 
สถานที่ประสูติของสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี
ประเพณีแข่งเรือยาว
การละเล่นของชาวไทยช่วงเดือน 11 กับเดือน 12

Loading