ข้อมูลเกี่ยวกับ “นครราชสีมา”
นครราชสีมา มีเป้าหมายจะขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ให้ครอบคลุมทั้ง 32 อําเภอ (25,494 ตร.กม.) ได้กําหนดพื้นที่นําร่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่อําเภอเมือง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 772.59 ตร.กม. ที่มีประชากร 467,267 คน โดยพื้นที่อําเภอเมืองของจังหวัดนครราชสีมามีศักยภาพที่โดดเด่นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจังหวัด และยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคที่เป็นประตูสู่ภาคตะอันออกเฉียงเหนือ มีสถานการศึกษาที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังมีการรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมร่วมรัฐและเอกชนที่เข้มแข็ง
วิสัยทัศน์เมือง
โคราชเมืองน่าอยู่ ควบคู่เทคโนโลยี ยึดวิถีพอเพียง มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
วัตถุประสงค์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
1. เพื่อเตรียมการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาให้มีความพร้อมรองรับการพัฒนาความเจริญ และมีความสอดคล้องกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
2. เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจร ตลอดจนการจัดการระบบการบริหารจัดการด้านคมนาคม ขนส่งโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการกวดขันวินัยการจราจรเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับยวดยานและรถขนส่งมวลชนสาธารณะรวมถึงรถบริการฉุกเฉินสาธารณะ ทําให้ประชาชนผู้ขับขี่และผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย เป็นระเบียบ และพัฒนาไปสู่การใช้ยานพาหนะประหยัดพลังงาน
3. การพัฒนา/สนับสนุนการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับระบบขนส่งให้เกิดความยั่งยืน มีความสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เพื่อรองรับปัญหาการจราจรในอนาคต
4. เพื่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการขยะ การระบายน้ําเสีย ระบบจัดการทรัพยากรน้ําการจัดการมลภาวะต่าง ๆ ลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
5. เพื่อการจัดการพื้นที่สีเขียวภายในเมือง/ชุมชน สร้างระบบนิเวศให้กับเมืองจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
6. เพื่อเกิดศูนย์/คลังข้อมูลการบริหารจัดการของเมืองในด้านต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่การเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการประยุกต์ใช้ สําหรับการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานของเมือง และการแก้ไขปัญหาเมือง
7. เพื่อสร้าง Platform การเชื่อมโยงกลุ่มคนในแต่ละระดับ อาทิ กลุ่มผู้บริหารเมือง กลุ่มขับเคลื่อนระบบและกลุ่มผู้รับบริการ ตลอดจนกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานด้านต่าง ๆ และ Application ต่าง ๆ สําหรับในการเก็บข้อมูล การให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน
8. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาคมทุกภาคส่วนในการกําหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและพัฒนาด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ให้เกิดรูปธรรม
ประเภทเมืองอัจฉริยะ
เมืองเดิมน่าอยู่
ลักษณะการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
คลิปแนะนำ
บทสรุปผู้บริหาร

วีรสตรีในประวัติศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์
ให้แก่ชาติบ้านเมือง

ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย หนึ่งในพื้นที่มรดกโลก

เขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ ภูเขารูปร่างแปลกตาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทางธรณีวิทยาจากยูเนสโก