สมุทรปราการสมาร์ทซิตี้

เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจดิจิทัล ชีวิตสะดวกมีคุณภาพพัฒนาความรู้ บ้านเมืองสะอาดปลอดภัย ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลเกี่ยวกับ “สมุทรปราการ”

จังหวัดสมุทรปราการ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า ” เมืองปากน้ำ ” เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล ที่สำคัญในอดีต หมายถึง กำแพงชายทะเลหรือกำแพงริมทะเล สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม เดิมตั้งอยู่ใกล้คลองปลากดทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองใหม่ที่บริเวณบางเจ้าพระยา คือ ตำบลปากน้ำในปัจจุบัน อยู่ระหว่างคลองปากน้ำ กับคลองมหาวงศ์ อันเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่าที่ตั้งเมืองสมุทรปราการ ยังไม่มั่นคงพอที่จะตั้งรับต่อสู้กับข้าศึกได้ และได้ทำพิธีฝังหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ พ.ศ.2365 บริเวณที่ฝังหลักเมืองชาวบ้านเรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ของชาวสมุทรปราการมาจนถึงปัจจุบันนี้

วิสัยทัศน์เมือง

เมืองอัจฉริยะเศรษฐกิจดิจิทัล ชีวิตสะดวกมีคุณภาพพัฒนาความรู้ บ้านเมืองสะอาดปลอดภัย ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายเมือง

ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อให้เกิดชุมชนที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย ได้รับคุณภาพในการใช้ชีวิต เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย และมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง
จำกัดให้มีประสิทธิ์ภาพที่สุด และเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเข้าด้วยกันแบบบูรณาการผ่าน
ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
2) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
3) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
4) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
5) ด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)

บริบทเมืองและความต้องการของเมือง

จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ รองรับการขยายตัวของเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นยังมีเขตแดนใกล้กับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 จังหวัดสมุทรปราการจึงเป็นเมืองที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานคร และเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออกของประเทศ หนึ่งในยุทธศาสตร์ของจังหวัดสมุทรปราการ คือ ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันในภูมิภาคเขตเศรษฐกิจอาเซียน และประเทศคู่เจรจาการค้ากับเขตเศรษฐกิจอาเซียน โดยพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้งาน

ประเภทเมืองอัจฉริยะ

เพิ่มหมวดหมู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะของเมืองนี้

คลิปแนะนำ

ใส่ video แนะนำเมือง

บทสรุปผู้บริหาร

Loading